หน้าเว็บ

ประวัติพระธาตุดอยเล็ง


ประวัติวัดพระธาตุดอยเล็ง โดย สังเขป

......................................

ประวัติพระธาตุดอยเล็ง
ตำบลช่อแฮ     อำเภอเมือง     จังหวัดแพร่
..........................................................................................
พระธาตุดอยเล็ง  เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮ  ระยะทางประมาณ  ๓  กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุจอมแจ้ง  ประมาณ  ๔  กิโลเมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.  ใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดแต่มีมาคู่กับพระธาตุช่อแฮและพระธาตุจอมแจ้ง  ตลอดถึงคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาศัยอยู่ในตำบลป่าแดงและช่อแฮได้เล่าว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์มาดอยลูกหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของดอยธชัคคะบรรพต  เมื่อเสด็จมาถึงจวนใกล้แจ้ง (สว่าง)  ณ ที่นั้นจึงเรียกว่าดอยจวนแจ้ง  ปัจจุบันจึงเรียกว่าพระธาตุจอมแจ้ง  หลังจากนั้นได้เสด็จมาทางทิศเหนือถึงดอยธชัคคะบรรพตได้มาประทับอยู่  ณ  ที่นั้น   โดยมีขุนลั๊วะอ้ายก้อม  เป็นโยมอุปฎฐาก  จึงให้ขุนลั๊วะอ้ายก้อม ออกไปสำรวจภูมิประเทศเพื่อที่จะสร้างพระธาตุช่อแฮ ขุนลั๊วะอ้ายก้อมจึงขึ้นไปยืนบนภูเขาที่ทำเลที่ดีจึงตกลงใจสร้างพระธาตุช่อแฮ แล้วพระพุทธองค์จึงทรงมอบเกศาธาตุไว้ที่ดอยธชัคคะบรรพตลูกนั้น ปัจจุบันเรียกว่าพระธาตุช่อแฮ  ครั้นเมื่อสร้างพระธาตุช่อแฮเสร็จแล้ว  ขุนลั๊วะอ้ายก้อมก็ระลึกถึงภูเขาที่ตนขึ้นไปยืนเล็งดูภูมิประเทศ จึงได้สร้างเจดีย์ขนาดเล็กเรียกว่า อุทเทสเจดีย์ ขึ้นบนภูเขาดังกล่าว  ต่อมาชาวเมืองแพร่ได้เรียกชื่อว่า
พระธาตุดอยเล็ง
ซึ่งเป็นพระธาตุที่ตั้งอยู่สูงสุดในบรรดาพระธาตุทั้งหมดในจังหวัดแพร่ ออกไปได้เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ทรงประทับอยู่บนดอยลูกหนึ่งซึ่งสูงกว่าดอยทั้งหมด จึงได้เอาบาตรวางไว้
บนดอยลูกนั้นปัจจุบันเรียกว่าดอยภูกวาง (ชาวบ้านได้เอาก้อนหินใส่จนเต็มรอยบาตร) แล้วจึงประทับแลดูดอยอีกลูกหนึ่ง (ภาษาท้องถิ่นของภาคเหนือคือเล็งผ่อ) ซึ่งอยู่ใกล้กับดอยภูกวางที่วางบาตร พระองค์จึงได้ประทับแลดูภูมิประเทศของเมืองโกศัยหรือเมืองแพร่ทรงตรัสว่า “ที่นี่เป็นที่น่ารื่นรมณ์เหมาะแก่การสร้างบ้านสร้างเมือง เพราะมีแม่น้ำยมไหลผ่าน”  

            

จึงให้ชื่อดอยลูกนี้ว่าดอยเล็ง บางตำนานเล่าว่าเจ้าเมืองเล็งดูเพื่อสร้างพระธาตุช่อแฮและเมืองแพร่  เนื่องจากเป็นดอนที่สูงสุดสามารถมองเห็นทิวทัศน์และภูมิประเทศได้ถึง    อำเภอ คือ อำเภอสูงเม่น , อำเภอเมืองแพร่ , อำเภอร้องกวาง ของจังหวัดแพร่ได้เป็นอย่างดี  อย่างไรก็ตามใครที่มานมัสการพระธาตุช่อแฮแล้ว ถ้าไม่ตั้งใจดูจะไม่สามารถมองเห็นพระธาตุดอยเล็ง
            ในการต่อมาเมื่อประมาณ ๑,๒๐๐ ปี  ได้มีพญาเชียงบุญ เป็นเจ้าเมืองปกครองทางเหนือ ได้สร้างเจดีย์ไว้ขนาดความกว้าง ๕ เมตร สูง ๑๑ เมตร ไว้เป็นอุเทศเจดีย์เป็นสถานที่เคารพนับถือ เพื่อให้อนุชน
รุ่นหลังได้ระลึกว่าในครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับที่นี่  จึงได้นำสิ่งของที่มีค่าเช่น พระบรมสารีริกธาตุ , พระสีวะลี , พระพุทธรูปแก้วฐานแก้วพลึก , พระพุทธรูปหุ้มด้วยทองและเงิน ,  ทับทรวง (สำหรับกษัตริย์) , แหวนทองคำและแก้วแหวนเงินทองบรรจุไว้ในองค์พระธาตุสถานที่แห่งนี้จึงเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่  หลังจากนั้นได้มีพวกม่านหรือพวกเม็งชาวพม่าอพยพมาทางตอนเหนือของเมืองแพร่  ได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่
            ในราว ๖๔ (ปีนี้ ๒๕๕๗) กว่า คณะศรัทธาสามัคคีที่ได้ศักราช ๑๓๑๒ ปีกฎยี พ.ศ.๒๔๙๓ หมายมีศรัทธาเจ้าตำมูล  วังซ้าย, พ่อหนานราช, พ่อหนานภิไชยปอน, แม่เขียว   มุ้งทอง, พ่อหนานคำ  แม่มี   มุ้งทอง,พ่อหนานพรหมมินทร์  พ่อหนานเสนา  แม่มา   เป็นใจ, พ่อหนานหลั่น   มุ้งทอง  ชาวบ้านป่าแดง  ได้เป็นผู้นำชาวบ้านช่วยกันขนอิฐ ปูน หินทราย ขึ้นไปบูรณะเจดีย์  ต่อมาท่านเหล่านั้นได้สร้างศาลาไว้ ๑ หลัง แต่ในภาคต่อมาศาลาถูกเผาไหม้ด้วยไฟป่าแล้วได้สร้างถังเก็บน้ำไว้ ๒ ถัง ไว้ที่พระธาตุ เพื่อบูชา
พระเจดียสถานที่สำคัญนี้ในสมัยเมื่อ ๔๐
-๕๐ ปีก่อน ครั้นถึงวันพระ/แรม ๑๕ค่ำ เวลากลางคืนชาวบ้านในและพระบ้านใกล้เคียงเห็นลูกแก้วลอยไปยังพระธาตุจอมแจ้งแล้วลอยไปยังพระธาตุช่อแฮ  พอใกล้สว่าง
ก็ลอยกลับมาพระธาตุดอยเล็งเป็นเช่นนี้เรื่อยมาช้านาน  ปัจจุบันไม่มีใครสันนิฐานว่าเป็นเพราะบ้านเมือง
มีไฟฟ้าส่องแสงสว่าง


ดังนั้นเมื่อถึงเดือน ๔ ใต้เดือน ๖ เหนือขึ้น ๑๕ ค่ำตรงกับประเพณีนมัสการไหว้พระธาตุช่อแฮ  ในวันสุดท้ายจะมีประชาชนขึ้นไปบนพระธาตุดอยเล็ง  เพื่อสักการบูชาและเป็นการระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๓๗ พระธาตุดอยเล็งได้ถูกคนใจบาปขุดค้นหาสมบัติของมีค่าทำให้องค์พระธาตุทรุด  โดยเฉพาะพระธาตุเอียงไปทางทิศใต้
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ พระมาหาวิชิต  อติธัมโม  ได้มาปฏิบัติศาสนากิจที่พระธาตุช่อแฮ โดยเป็นครูสอนภาษาบาลี  ได้ฝันเห็นผู้หญิงคนหนึ่งนุ่งชุดขาวห่มขาว บางครั้งแต่งชุดคล้ายลูกสาวกษัตริย์ (ที่ว่าเป็นลูกสาวกษัตริย์นั้นเพราะได้พบทับทรวงสำหรับผู้หญิงในพระธาตุ) มาบอกให้ช่วยบูรณะ หลังจากนั้นพอใกล้เข้าพรรษาท่านจึงได้แบกเทียนพรรษาขึ้นไปจุดบนพระธาตุแล้ว ได้ขอพระพุทธรูปจากพระเดชพระคุณพระราชนันทาจารย์ (ผล  อกโชติ) เจ้าอาวาสวัดเวตะวันธรรมาวาส (เชิงหวาย) เจ้าคณะเขตพญาไท กรุงเทพฯ โดยมีคุณผ่อน  คุณประจวบ  พรหมจาต  ได้เป็นผู้มาถวายมาไว้ที่พระธาตุช่อแฮ  โดยแรงศรัทธาจึงได้นำพระภิกษุ-สามเณรวัดพระธาตุช่อแฮ จำนวน ๒๒ รูปช่วยกันหามขึ้นไปประดิษฐานไว้บนพระธาตุดอยเล็ง  ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีถนนหนทางเดินเดินเท้าระยะทาง ๒ กิโลเมตร หลังจากนั้นท่านได้พาชาวบ้านและเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านใน, โรงเรียนบ้านพันเชิง , โรงเรียนเมืองแพร่ ได้ขนหิน ทราย ปูน ต้องใช้เวลาเดินเท้าเปล่าประมาณ ๑ ชั่วโมง เพื่อขึ้นบูรณะพระธาตุดอยเล็งแต่ไม่สำเร็จ  จึงได้ปรึกษากับเจ้าคณะสงฆ์อำเภอเมืองแพร่ และกำนันตำบลป่าแดงและช่อแฮ ผู้ใหญ่บ้านในและนายยงยุทธ  ปลาลาศ  ก็ได้ข้อเสนอแนะว่าให้ทำถนนขึ้นก่อนถึงจะนำรถขึ้นได้  จึงได้นำเรื่องไปปรึกษาเพื่อขออนุญาตจากนายนรินทร์  พาณิชกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่  นายมนู  สมจิต ป่าไม้จังหวัดแพร่  นายเจริญสุข  ชุมศรี  นายอำเภอเมืองแพร่ และหน่วยราชการต่างๆ ทีเกี่ยวข้อง  เพื่อนำรถมาปรับทำถนนขึ้นพระธาตุดอยเล็งและชักชวนชาวบ้านมาช่วยกันเบิกทางสร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยเล็งจนสำเร็จเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ โดยอุผชปถัมภ์ทุนทรัพย์จากหลวงพ่อพระราชนันทาจารย์  (หลวงพ่อผล  อกกโชติ ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดเวตะวันธรรมวาส เป็นเงินจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท

คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นเงินจำนวน ๒๑,๐๐๐ บาท  รวมยอดสร้างถนนจำนวน ๑๔๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นหนึ่งพันบาท)
           
ในกาลต่อมาปี ๒๕๔๐ ได้มีพระมหาวิชิต  อติธมฺโม  ประธานดำเดินการบูรณะพระธาตุดอยเล็งด้วยความเห็นชอบของพระครูโกศลสมณคุณ จอ.เมืองแพร่, พระครูอุดมขันติคุณ  จต.ป่าแดงเขต ๒ และฝ่ายบ้านเมืองมี นายนรินทร์  พานิชกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่, นายเจริญสุข  ชุมศรี นายอำเภอเมืองแพร่,              นายสถิต  มุ้งทอง กำนันตำบลป่าแดง, นายสุคนธิ์   ผุดผ่องพรรณ  กำนันตำบลช่อแฮ  ได้ทำการบูรณะพระธาตุดอยเล็งเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ซึ่งมีนายเสนาะ  จันทร์สวัสดิ์  เป็นช่างบูรณะพระธาตุ
ซึ่งพระธาตุใช้เวลาบูรณะ ๒ เดือน ๘ วัน เมื่อทำการบูรณะแล้วเสร็จจึงได้ทำพิธียกฉัตรยอดพระธาตุดอยเล็งเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งได้รับการอุปถัมภ์ทุนทรัพย์จากหลวงพ่อพระราชนันทาจารย์ (หลวงพ่อผล) เจ้าอาวาสวัดเวตะวันธรรมาวาส(เชิงหวาย)เขตบางซื่อกรุงเทพฯ เป็นเงินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท, คณะสงฆ์และพระพุทธศาสนิกชนบริจาคเป็นเงินจำนวน ๑๒๗,๕๕๐ บาท รวมยอดบูรณะพระธาตุเป็นเงินจำนวน ๖๒๗,๕๕๐ บาท (หกแสนสองหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยห้าสิบบาท) ขณะนี้พระธาตุดอยเล็ง ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับสามารถมองเห็นได้ถึงสามอำเภอคือ อำเภอสูงเม่น, อำเภอเมืองแพร่,
 อำเภอร้องกวาง และเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ของจังหวัดแพร่อีกแห่งหนึ่ง  ผู้แสวงบุญสามารถนำรถขึ้นบนพระธาตุได้โดยสะดวกและปลอดภัยจากข้อมูลทางเอกสารทำให้ทราบว่าพระธาตุดอยเล็งมีความสัมพันธ์กับพระธาตุช่อแฮมานานกว่า ๖๐๐ ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเข้าใจถึงความหมายในการสร้างพระธาตุดอยเล็งไม่ได้กลายเป็นสาระสำคัญในการบูชาและการไปถึงดอยเล็ง  ชาวแพร่โดยทั่วไปเข้าใจเพียงแต่ว่ามีพระธาตุบนดอยเล็งเบื้องหลังดอยเล็งเท่านั้น  การไปไหว้พระธาตุบนดอยเล็งในเดือน ๖ เหนือของทุกปีพร้อมงานประจำของพระธาตุช่อแฮจึงเหมือนว่าเป็นการทำบุญตามประเพณีเท่านั้น
            
image

image

image


สิ่งก่อสร้างที่ได้สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐
โดยพระมหาดร.วิชิต    อติธมฺโม  (นธ.เอก, ปธ.๕, มมร, กศม, PHD)
ประธานดำเนินการบูรณะพระธาตุดอยเล็ง
.....................................................................................
1.     ในปี ๒๕๔๐ ได้สร้างกุฏิที่พักสงฆ์ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น
โดยได้รับความอุปถัมภ์ทุนทรัพย์จากคุณพ่อจำลอง  คุณแม่ประทุม    พฤษก์ชัฎ, คุณแม่สังวาล  ศิริสัมพันธ์, คุณแม่จำรัส  ราชแพทย์ยาคม  รวมเป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
2.   ในปี ๒๕๔๑ ได้สร้างบันไดนาค ๙๔ ขั้น ได้รับความอุปถัมภ์ทุนทรัพย์จากคุณพ่อจำลองคุณแม่ประทุม  พฤษก์ชัฎ, คุณแม่สังวาล   ศิริสัมพันธ์, คุณแม่จำรัส  ราชแพทย์ยาคม  รวมเป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
3.    ในวันที่ ๒  พฤศจิกายน ๒๕๔๑  ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างบันไดนาค ๓๙๙ ขั้น กว้าง ๒ เมตร ยาว ๑๘๐  เมตร โดยมีพระมหาโพธิวงศาจารย์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายอนุกุล  คุณาวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส  


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
รวมเป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๑,๘๔๑,๘๒๐ บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสี่หมื่นหนึ่งพันแปดร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
1.     สร้างศาลาเทวานุภาพขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๒ เมตร จำนวน ๓ ชั้น โครงสร้าง
คอนกรีตเสริมเหล็กและภายในบุด้วยไม้สัก โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ บาท และพุทธศาสนิกชน จำนวน ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านห้าแสนบาทถ้วน)
2.   สร้างศาลาพรหมานุภาพ  ขนาดกว้าง    เมตร  ยาว  ๒๔  เมตร จำนวน ๓  ชั้น คอนกรีตเสริม
เหล็กและด้านบนบุด้วยไม้สักทั้งชั้น โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ  ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช  ถวายเป็นต้นทุน จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาทเมื่อวันที่ ๒๙  มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔   รวมเป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๒,๗๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน)
๖.สร้างศาลาธรรมานุภาพ  ขนาดกว้าง ๖  เมตร  ยาว ๒๔  เมตร ชั้นเดียว คอนกรีตเสริมเหล็ก โดย
มีนายภูธิป   ฉันชนกภากร   เป็นต้นทุนการก่อสร้าง จำนวน ๖๗๐,๐๐๐  บาท รวมเป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน)
3.    สร้างอุโบสถ  ขนาดกว้าง ๘  เมตร  ยาว ๑๘  เมตร ชั้นเดียว คอนกรีตเสริมเหล็ก โดย
การก่อสร้างรวมเป็นเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๑๐,๒๐๐,๐๐๐ บาท (สิบล้านสองแสนบาทถ้วน)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น